Header Image
“พาณิชย์”รายงานสถานการณ์สินค้า ส่วนใหญ่ทรงตัว ผลไม้ใต้-เหนือ ราคาดี เกษตรกรยิ้ม
watermark

กรมการค้าภายในรายงานสินค้าประจำสัปดาห์ ส่วนใหญ่ราคาทรงตัว ทั้งข้าว มัน ข้าวโพด ปาล์ม หมู ไก่ ไข่ ส่วนผักสดขยับเล็กน้อย เหตุเจอฝน ทำเสียหาย แต่ก็มีหลายรายการที่ลดลง เผยผลไม้ราคาดีต่อเนื่อง ภาคตะวันออก ออกเกือบหมดแล้ว ภาคใต้ ทุเรียน มังคุด ดีกว่าปีก่อน ภาคเหนือ สับปะรด ลำไย เกษตรกรยิ้มได้

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาสัปดาห์นี้ ส่วนใหญ่ทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยข้าวหอมมะลิราคา 15,750 บาทต่อตัน ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ราคา 15,550 บาทต่อตัน ข้าวหอมปทุมธานี 15,250 บาทต่อตัน ข้าวเจ้า 11,300 บาทต่อตัน ข้าวเหนียวเมล็ดยาว 13,900 บาทต่อตัน มันสำปะหลัง ราคา 2.95 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ความชื้น 14.5%) ราคา 11.30 บาทต่อกก. ปาล์มน้ำมันราคา 6.10 บาทต่อกก.

สำหรับหมูเนื้อแดง เฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 137.56 บาท ไก่เนื้อน่องติดสะโพกและเนื้อน่อง เฉลี่ยกก.ละ 83.88 บาท เนื้อสะโพกเฉลี่ย กก.ละ 88.06 บาท และเนื้ออกเฉลี่ยกก.ละ 85.56 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 เฉลี่ยฟองละ 4.23 บาท ปลานิล กก.ละ 72.50 บาท ปลาทับทิม 105 บาท ปลาดุก 76.30 บาท กุ้งขาว (70 ตัว/กก.) กก.ละ 187 บาท

ส่วนผักสด ส่วนใหญ่ราคาปรับขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศมีฝนตกชุกในแหล่งผลิต ทำให้ผักได้รับความเสียหาย ซึ่งมีปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง แต่ไม่กระทบกับความต้องการของผู้บริโภค โดยผักคะน้า กก.ละ 39.60 บาท กะหล่ำปลี กก.ละ 35.70 บาท กวางตุ้ง กก.ละ 35.20 บาท ผักกาดขาว กก.ละ 44.50 บาท ผักบุ้งจีน กก.ละ 37 บาท ต้นหอม กก.ละ 107.50 บาท ผักชี กก.ละ 120.50 บาท ส่วนมะนาว (เบอร์ 1-2) อยู่ที่ 3.50 บาท ส่วนผักที่ปรับราคาลดลง ได้แก่ ถั่วฝักยาว กก.ละ 44 บาท และพริกขี้หนูจินดา 81 บาท

ทางด้านสถานการณ์ผลไม้ ราคาตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยผลไม้ภาคตะวันออกใกล้หมดแล้ว ทุเรียน มังคุด และเงาะโรงเรียน ออกหมดแล้ว ลองกอง ออกแล้ว 93% เบอร์ 1 กก.ละ 75 บาท ราคาเท่ากันกับปีก่อน เบอร์ 2 กก.ละ 55 บาท เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย กก.ละ 52 บาท และเบอร์ 3 กก.ละ 51 บาท เพิ่มขึ้น 2% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย กก.ละ 50 บาท

ขณะที่ผลไม้ภาคใต้ กำลังออกสู่ตลาด โดยทุเรียน ออกแล้ว 48% ราคาเกรดส่งออกหรือเกรด AB กก.ละ 150 บาท เพิ่มขึ้น 25% จากราคาปี 2566 ที่เฉลี่ย กก.ละ 120 บาท เกรดส่งออกรองหรือเกรด C กก.ละ 105 บาท และเกรด D กก.ละ 98 บาท มังคุดใต้ ออกแล้ว 27% โดยเกรดส่งออกหรือมันรวม กก.ละ 76.55 บาท เพิ่ม 107% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 73 บาท เกรดส่งออกรองหรือเกรดกากลาย กก.ละ 45 บาท เพิ่ม 50% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 50 บาท เกรดคละ กก.ละ 30 บาท เพิ่ม 20% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 34 บาท เกรดตกเกรด กก.ละ 25 บาท เพิ่ม 108% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 15 บาท

ผลไม้ภาคเหนือ กำลังออกสู่ตลาดเช่นเดียวกัน โดยสับปะรดภูแล ออกแล้ว 82% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 12.50 บาท เพิ่ม 39% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 8.98 ลำไย ออกแล้ว 58% ลำไยเกรดช่อส่งออกAA กก.ละ 38 บาท เพิ่ม 17% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 32.50 บาท เกรดช่อส่งออก A กก.ละ 33 บาท เพิ่ม 20% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 27.50 บาท เกรดรูดร่วง AA กก.ละ 34 บาท เพิ่ม 45% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 23.50 บาท เกรดรูดร่วง A กก.ละ 18 บาท เพิ่ม 16% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 15.50 บาท และเกรดรูดร่วง B กก.ละ 8.50 บาท เพิ่ม 13% จากปี 2566 ที่เฉลี่ย 7.50 บาท

นอกจากนี้ กรมกได้กำหนดจัดงาน “Village To Town 2024 by DIT” นำสินค้าเด่นจากวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการท้องถิ่น จากหมู่บ้านทำมาค้าขาย และตลาดต้องชมกว่า 35 แห่ง มาจัดแสดงและจำหน่ายให้กับชาวกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยว ที่บริเวณ ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า ตั้งแต่วันที่ 19–25 ส.ค. 2567 เพื่อช่วยสนับสนุนสินค้าจากหมู่บ้านทำมาค้าชาย และตลาดต้องชม ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงสินค้าเกษตร อาทิ ผลไม้ไทย ผักสดสะอาด และกุ้งสด ๆ ตัวโต ๆ เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ และขยายโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนและเกษตรกร และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 158,513