Header Image
ปิดฤดูผลไม้ปี 67 ชาวสวนยิ้ม
watermark

ช่วงต้นปี 2567 มีการคาดการณ์ “ผลผลิตผลไม้” ทุกชนิด จะมีปริมาณ 6.765 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2% แยกเป็น “ทุเรียน” 1.526 ล้านตัน เพิ่ม 3% “มังคุด” 2.81 แสนตัน เพิ่ม 4% “ลำไย” 1.506 ล้านตัน เพิ่ม 6% “เงาะ” 2.26 แสนตัน เพิ่ม 5% “ลองกอง” 5.7 หมื่นตัน ลด 11% “ลิ้นจี่” 3 หมื่นตัน ลด 26% “มะม่วง” 1.32 ล้านตัน ลด 2% “สับปะรด” 1.38 ล้านตัน เพิ่ม 10% “ส้มเขียวหวาน” 3.04 แสนตัน ลด 21% และ “ส้มโอ” 1.35 แสนตัน ลด 27% 
         
โดย “ฤดูกาลผลไม้” เริ่มเปิดฉากตั้งแต่เดือน เม.ย.-ส.ค.2567 ช่วง 5 เดือนนี้ ผลผลิตออกสัดส่วน 71% ของผลผลิตทั้งหมด ที่เหลือ 29% ออกในช่วงที่เหลือ และในจำนวนผลผลิต 6.765 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 26% ส่งออก 74%
         
การดูแลผลไม้ “กระทรวงพาณิชย์” ได้จัดทำ “มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2567” จำนวน 6 มาตรการ 25 แผนงาน ที่ทำไว้ล่วงหน้า มีทั้งมาตรการทั้งส่งเสริมการผลิตและแปรรูป มาตรการส่งเสริมตลาดในประเทศ มาตรการส่งเสริมตลาดต่างประเทศ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพทางการค้า มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า และมาตรการทางกฎหมาย
         
ต่อมาเพิ่มมาตรการ “คนตัวใหญ่ ช่วยคนตัวเล็ก” ดึง 12 กลุ่ม 20 เครือข่าย 27 หน่วยงาน เข้ามาช่วยเสริม ด้วยการช่วยซื้อผลผลิตผลไม้ นำไปกระจายผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยใช้หลักการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR
         
ผลการดำเนินการ” ตลอดฤดูกาลผลไม้ที่ผ่านมา ประสบ “ความสำเร็จ” อย่างงดงาม สามารถ “ปิดฉาก” ฤดูกาลผลไม้ที่เรียกได้ว่าเป็น “ปีทอง” ของชาวสวนผลไม้อีกปีหนึ่ง

เนื่องจากปีนี้ “ราคาผลไม้” ทุกชนิด ปรับตัว “เพิ่มขึ้น” ทุกรายการ ไม่มีตกหล่นแม้แต่ตัวเดียว โดยเพิ่มขึ้น “ต่ำสุด” คือ 1% และ “สูงสุด” คือ 146%

เริ่มจาก “ผลไม้ภาคตะวันออก” ตอนนี้สิ้นสุดฤดูกาลไปแล้ว ราคาปรับตัวขึ้นทุกรายการ โดย “ทุเรียน” เกรด AB ราคาเฉลี่ย 181 บาท/กิโลกรัม (กก.) เพิ่มขึ้น 21% เกรด C ราคา 131 บาท/กก. เพิ่ม 19% เกรด D ราคา 111 บาท/กก. เพิ่ม 11% “มังคุด” เกรดส่งออก ราคา 89 บาท/กก. เพิ่ม 46% เกรดรอง ราคา 61 บาท/กก. เพิ่ม 22% เกรดคละ 64 บาท/กก. เพิ่ม 68% ตกเกรด ราคา 25 บาท/กก. เพิ่ม 67% “เงาะโรงเรียน” ส่งออก ราคา 41 บาท/กก. เพิ่ม 17% เกรดในประเทศ ราคา 36 บาท/กก. เพิ่ม 29% “เงาะสีทอง” ส่งออก ราคา 31 บาท/กก. เพิ่ม 35% เกรดในประเทศ ราคา 26 บาท/กก. เพิ่ม 44% “ลองกอง” เบอร์ 1 ราคา 76 บาท/กก. เพิ่ม 1% เบอร์ 2 ราคา 60 บาท/กก. เพิ่ม 15% เบอร์ 3 ราคา 52 บาท/กก. เพิ่ม 4%

ผลไม้ภาคใต้” ขณะนี้ใกล้จะสิ้นสุดฤดูกาลแล้ว โดย “ทุเรียน” ออกแล้ว 98.6% เกรด AB ราคาเฉลี่ย 180 บาท/กิโลกรัม (กก.) เพิ่มขึ้น 50% เกรด C ราคา 120 บาท/กก. เพิ่ม 14% เกรด D ราคา 100 บาท/กก. เพิ่ม 4% “มังคุด” ออกแล้ว 99.2% กลุ่มประมูล เกรดส่งออก ราคา 90.95 บาท/กก. เพิ่ม 146% เกรดรอง ราคา 69.50 บาท/กก. เพิ่ม 132% เกรดคละ 47.50 บาท/กก. เพิ่ม 90% ตกเกรด ราคา 35.50 บาท/กก. เพิ่ม 196% “เงาะโรงเรียน” ในประเทศ ราคา 38 บาท/กก. เพิ่ม 31% “เงาะสีทอง” ในประเทศ ราคา 27 บาท/กก. เพิ่ม 13% “ลองกอง” ออกแล้ว 93.6% เบอร์ 1 ราคา 36.50 บาท/กก. เพิ่ม 22% เบอร์ 2 ราคา 22.50 บาท/กก. เพิ่ม 13% เบอร์ 3 ราคา 8.50 บาท/กก. ลด 6%
         
ผลไม้ภาคเหนือ” ใกล้จะสิ้นฤดูกาลเช่นเดียวกัน โดย “มะม่วง” จบฤดูกาลแล้ว “มะม่วงน้ำดอกไม้” เกรดส่งออก ราคา 60 บาท/กก. เพิ่ม 20% เกรด A ราคา 37.50 บาท/กก. เพิ่ม 36% เกรดคละ ราคา 22.50 บาท/กก. เพิ่ม 13% “มะม่วงฟ้าลั่น” เบอร์ 1 ราคา 20 บาท/กก. เพิ่ม 122% คละ 12.50 บาท/กก. เพิ่ม 108% “มะม่วงโชคอนันต์” เกรดตลาด 12.50 บาท/กก. เพิ่ม 56% เกรดดอง ยำ ราคา 3 บาท/กก. เพิ่ม 20% “มะม่วงเขียวเสวย” คละ ราคา 23.50 บาท/กก. เพิ่ม 2% “มะม่วงมหาชนก” คละ ราคา 21 บาท/กก. เพิ่ม 24% “มะม่วงเขียวมรกต” เบอร์ 1-2 ราคา 19 บาท/กก. เพิ่ม 27% คละ 12.75 บาท/กก. เพิ่ม 28% “ลิ้นจี่” ฮงฮวย A ราคา 33.25 บาท/กก. เพิ่ม 19% จักรพรรดิ B ราคา 61.25 บาท/กก. เพิ่ม 36% “ส้มเขียวหวาน” คละ 20 บาท/กก. เพิ่ม 14% “สับปะรดภูแล” ออกแล้ว 91% เกรดคละ ราคา 12.50 บาท/กก. เพิ่ม 39% “ส้มโอทองดี” ออกแล้ว 97% เกรดสวยติดขั้ว-ใบ ราคา 14.50 บาท เพิ่ม 5% เกรดคละ ราคา 11.50 บาท เพิ่ม 4% “ลำไย” ช่อส่งออก AA ราคา 42 บาท/กก. เพิ่ม 29% ช่อส่งออก A ราคา 38 บาท/กก. เพิ่ม 38% รูดร่วง AA ราคา 33 บาท/กก. เพิ่ม 40% รูดร่วง A ราคา 18 บาท/กก. เพิ่ม 16% รูดร่วง B ราคา 10 บาท/กก. เพิ่ม 33% “ลองกอง” ออกแล้ว 73% เบอร์ 1 ราคา 37.50 บาท/กก. เพิ่ม 36% เบอร์ 3 ราคา 23.50 บาท/กก. เพิ่ม 114%
         
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” กล่าวว่า ตอนนี้ใกล้สิ้นสุดฤดูกาลผลไม้ทุกชนิดแล้ว เหลือผลผลิตอีกเพียงเล็กน้อย โดยราคาปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ ทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง มะม่วง ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ สับปะรด และลำไย เป็นผลจากความสำเร็จของมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2567 จำนวน 6 มาตรการ 25 แผนงาน ที่ได้เตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ก่อนที่ผลผลิตผลไม้จะออกสู่ตลาด

ทั้งนี้ เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่ง ได้สั่งการให้เพิ่มความเข้มข้นในการดูแล ทั้งการขยายตลาดในประเทศและการผลักดันการส่งออกสู่ตลาดใหม่ และการนำผลผลิตไปแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ปีนี้ปิดฉากฤดูกาลผลผลิตผลไม้ได้อย่างงดงาม และถือเป็นปีทองของพี่น้องเกษตรกรอีกปีหนึ่ง ที่ขายผลผลิตได้ราคาดีและมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2568 โดยให้เตรียมตัวไว้ก่อนที่ผลผลิตฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะนำมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นมาตรการดูแลผลไม้เชิงรุกในปี 2568 ต่อไป
         
ความสำเร็จ” ที่เกิดขึ้น ต้องชื่นชนคน “คุมเกม” ที่วางแผนไว้ก่อนหน้านี้ คือ “นายภูมิธรรม เวชยชัย” สมัยที่นั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
         
ต่อมา นายพิชัย “รับไม้ต่อ” ซึ่งการทำงาน ก็ทำได้แบบ “ไร้ที่ติ” และ “บวกเพิ่ม” ในสิ่งที่ขาด ทำให้การดูแลผลไม้เกิดความต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด
         
แต่ที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ ก็คือ คนทำงาน อย่าง “กรมการค้าภายใน” ที่ทำงานแบบ “ถึงลูกถึงคน” ตรงไหน จุดไหน มีปัญหา ก็จะเข้าไป “เกาะติด” เข้าไป “แก้ไขปัญหา” แบบทันท่วงที ทำให้ปีนี้ เราแทบจะไม่ได้ยินข่าวผลไม้ราคาตกกันเลย
         
อีกส่วนที่ต้องขอชื่นชม ก็ บรรดา “คนตัวใหญ่” ทั้งห้าง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ปั๊มน้ำมัน ที่เข้ามาช่วยเหลือ นำผลผลิตไปช่วยระบาย
         
สุดท้ายนี้ ก็ขอแสดงความดีใจกับ “ชาวสวนผลไม้” ที่ปีนี้ “ผลไม้ทุกชนิด” ราคาดีทุกตัว มีรายได้เพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 128,704